คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ พร้อมประวัติและเคล็ดลับ อำนาจวาสนา สูงสุดทางมหาเศรษฐี

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ พร้อมประวัติและเคล็ดลับ อำนาจวาสนา สูงสุดทางมหาเศรษฐี


คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ พร้อมประวัติและเคล็บลับการบูชา

ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า “ท้าวกุเวร” ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก “ท้าวไพสพ” เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย โดย ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือมีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจเป็นบริวาร ว่ากันว่าอาณาเขตที่ ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองนั้นใหญ่มหาศาลมาก และ ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 อันประกอบไปด้วย “พระอินทร์” (ท้าวธตรฐ) ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก , “พระยม” (ท้าววิรุฬหก) ปกครองโลกด้านทิศใต้ และ “พระวรุณ” (ท้าววิรูปักษ์) ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก และเพราะ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเจ้าแห่งอสูร ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมาก

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ

ผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป องค์ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร (บูชาประจำวัน) และท่องคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ 9 จบ ดังต่อไปนี้ 

ตั้งนะโม 3 จบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ

คาถาท้าวเวสสุวรรณ

อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ

เคล็ดการบูชาท้าวเวสสุวรรณ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้

  1. จุดสักการะธูป 9 ดอก และถวายดอกกุหลาบ 9 ดอก
  2. ตั้งนะโม 3 จบ (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสสะ)
  3. ระลึกถึงคุณบิดา มารดา และครูบาอาจารย์ ทั้งหลาย ที่ประสิทธิประสาทวิชามาแล้วระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  4. แล้วท่องคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ  9 จบ เพื่อเป็นสิริมงคล 

ผู้ที่ได้ทั้งบูชาท้าวเวสสุวรรณ ด้วยการกราบไหว้ และนำคุณธรรมของตััวท่านไปปฏิบัติด้วย จะช่วยส่งผลให้เจริญก้าวหน้า และร่ำรวย มีความสุขอย่างแน่นอน

ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับท้าวเวสสุวรรณ

คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน

ท้าวกุเวร หรือท้าวเวสสุวรรณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน

ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง

ในประเทศไทยมีคติการบูชาท้าวเวสวัณอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า พระไพศรพณ์ ตามนามในภาษาสันสกฤต ไวศฺรวณ มือขวาถือตะบอง มือซ้ายยกเสมอหน้าอกแสดงการห้ามปรามมิให้ (เทวดา) ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยยุติธรรมในสวรรค์ ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของอัยการมานาน คาดว่าตั้งแต่แรกตั้งกรมอัยการเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้วเนื่องจากยกกระบัตร (ชื่อเรียกอัยการในสมัยโบราณ) หรืออัยการในปัจจุบันก็มีหน้าที่รักษาความยุติธรรมและกฎหมายเช่นเดียวกับหน้าที่ของพระไพศรพณ์ในสวรรค์ แต่ยังตรวจไม่พบหลักฐานว่าได้มีประกาศเป็นทางการให้ใช้รูปพระไพศรพณ์เป็นเครื่องหมายราชการของอัยการตั้งแต่เมื่อใด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save